เนเจอร์รัลไมเนอร์
- จำนวนตัวโน้ต: 7 ตัว
- ช่วงครึ่งเสียง: 2-3 และ 5-6
- ความรู้สึก:อ่อนหวาน โศกเศร้า หม่นหมอง
- ข้อมูลเพิ่มเติม: www.example.com
การสร้างบันไดเสียงเนเจอร์รัล ไมเนอร์ (Natural minor Scales)
บันไดเสียงไมเนอร์ มีความคล้ายกันกับบันไดเสียงเมเจอร์ เพียงแต่บันไดเสียงไมเนอร์จะให้ความรู้สึกเศร้ากว่าบันไดเสียงเมเจอร์ แน่นอนโครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์ก็ต่างจากบันไดเสียงเมเจอร์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้บันไดเสียงไมเนอร์ยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้แต่งเพลง ที่จะเลือกใช้ ซึ่งได้แก่ บันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเชอรัล (Natural minor scale) บันไดเสียงไมเนอร์แบบฮาร์โมนิก (Harmonic minor scale) บันไดเสียงไมเนอร์แบบเมโลดิก (Melodic minor scale) ทั้ง 3 บันไดเสียงนี้ อาจจะทำให้สับสนในบทเรียนทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้นนี้ เราจึงอยากให้ศึกษาบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเชอรัล ก่อน เมื่อคล่องแล้วจึงค่อยศึกษาบันไดเสียงไมเนอร์ประเภทอื่นต่อในระดับที่สูงขึ้น
structure
โครงสร้างบันไดเสียงเนเจอร์รัล ไมเนอร์
โน้ตในลำดับที่ 2-3 และ 5-6 มีระยะห่างกันครึ่งเสียงตรงตามโครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเชอรัล ดังนั้นจึงไม่ต้องใส่เครื่องหมายแปลงเสียง
โน้ตในลำดับที่ 2-3 มีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม แต่ในขณะที่โน้ตในลำดับที่ 1-2 มีระยะห่างกันครึ่งเสียง ในโครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเชอรัลโน้ตในลำดับที่ 2-3 และ 5-6 ต้องมีระยะห่างครึ่งเสียง
วิธีทำ : ใส่เครื่องหมายชาร์ป ที่โน้ต F เพื่อทำให้ E-F♯ มีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม และ F♯-G มีระยะห่างกันครึ่งเสียง ตรงตามโครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเชอรัล ดังนี้
E _ F♯ ̬ G _ A _ B ̬ C _ D _ E