ฮาร์โมนิคไมเนอร์

  • จำนวนตัวโน้ต: 7 ตัว
  • ช่วงครึ่งเสียง: 2-3 และ 7-8 ช่วง6-7 ห่างหนึ่งเสียงครึ่ง
  • ความรู้สึก:อ่อนหวาน โศกเศร้า หม่นหมอง
  • ข้อมูลเพิ่มเติม: www.example.com

การสร้างบันไดเสียงฮาร์โมนิค ไมเนอร์ (Harmonic minor Scales)

บันไดเสียง (Scale) มีความสำคัญยิ่งในการนำไปใช้ในทักษะทางดนตรี และทฤษฎีดนตรี ที่จะสามารถวิเคราะห์บทเพลงต่างๆที่จะทำการบรรเลงได้อย่างถูกต้อง และเป็นเสมือนกุญแจที่สำคัญ สำหรับนักดนตรี เมื่อมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องของบันไดเสียงได้อย่างแม่นยำแล้ว จะสามารถต่อยอดในการศึกษาเนื้อหาสาระทางทฤษฎีในระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้ ดังนั้น การเรียนรู้เรื่องบันไดเสียง จึงเป็นความรู้ที่นักดนตรีไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การจดจำบันไดเสียง อาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ถ้าไม่มีความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ได้อย่างแท้จริง

structure

โครงสร้างบันไดเสียงฮาร์โมนิค ไมเนอร์

โครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบฮาร์โมนิกส์ มาจากโครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเจอรัล กล่าวคือ บันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเจอรัล โน้ตในลำดับ 2-3 และ 5-6 มีระยะห่างกันครึ่งเสียง ในโครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบฮาร์โมนิกส์ก็ใช้โครงสร้างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเจอรัลเป็นพื้นฐานเช่นกัน แต่จะมีแค่ โน้ตลำดับที่ 7 ที่ถูกยกขึ้นครึ่งเสียงหรือใส่เครื่องหมายแปลงเสียง ชาร์ป(♯) ที่โน้ตลำดับที่ 7 ซึ่งก็จะทำให้ โน้ตในลำดับที่ 6-7 มีระยะห่างหนึ่งเสียงครึ่ง

บันไดเสียง A ไมเนอร์แบบเนเชอรัล A _ B ̬ C _ D _ E ̬ F _ G _ A
วิธีสร้าง บันไดเสียง A ไมเนอร์แบบฮาร์โมนิกส์ เพิ่มโน้ตตัวที่ 7 ขึ้นครึ่งเสียงนั่นคือ ตัว G ให้เป็น G♯ และโน้ตลำดับที่ 6-7 จะมีระยะห่างกันหนึ่งเสียงครึ่งนั่นคือ F _ ̬ G♯
A _ B ̬ C _ D _ E ̬ F _ ̬ G♯ ̬ A
บันไดเสียง A ไมเนอร์แบบฮาร์โมนิกส์
A _ B ̬ C _ D _ E ̬ F _ ̬ G♯ ̬ A

บันไดเสียง E ไมเนอร์แบบเนเชอรัล E _F♯ ̬ G _ A _ B ̬ C _ D _ E
วิธีสร้าง บันไดเสียง E ไมเนอร์แบบฮาร์โมนิกส์ เพิ่มโน้ตตัวที่ 7 ขึ้นครึ่งเสียงนั่นคือ ตัว D ให้เป็น D♯ และโน้ตลำดับที่ 6-7 จะมีระยะห่างกันหนึ่งเสียงครึ่งนั่นคือ C _ ̬ D♯
E _F♯ ̬ G _ A _ B ̬ C _ ̬ D♯ ̬ E
บันไดเสียง E ไมเนอร์แบบฮาร์โมนิกส์
E _F♯ ̬ G _ A _ B ̬ C _ ̬ D♯ ̬ E

ทดสอบ

สุ่มบันไดเสียง ฮาร์โมนิคไมเนอร์

เลือกบันไดเสียง

×

Metronome