บันไดเสียงเมเจอร์
- จำนวนตัวโน้ต: 7 ตัว
- ช่วงครึ่งเสียง: 3-4 และ 7-8
- ความรู้สึก:ร่าเริง แจ่มใส เข็มแข็ง
- ข้อมูลเพิ่มเติม: www.example.com
การสร้างบันไดเสียงเมเจอร์ (Major Scales)
บันไดเสียง (Scale) มีความสำคัญยิ่งในการนำไปใช้ในทักษะทางดนตรี และทฤษฎีดนตรี ที่จะสามารถวิเคราะห์บทเพลงต่างๆที่จะทำการบรรเลงได้อย่างถูกต้อง และเป็นเสมือนกุญแจที่สำคัญ สำหรับนักดนตรี เมื่อมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องของบันไดเสียงได้อย่างแม่นยำแล้ว จะสามารถต่อยอดในการศึกษาเนื้อหาสาระทางทฤษฎีในระดับที่สูงขึ้นต่อไปได้ ดังนั้น การเรียนรู้เรื่องบันไดเสียง จึงเป็นความรู้ที่นักดนตรีไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การจดจำบันไดเสียง อาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ถ้าไม่มีความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ได้อย่างแท้จริง
structure
โครงสร้างบันไดเสียงเมเจอร์
ก่อนการเรียนรู้เรื่องของบันไดเสียง
“โด เร มี ฟา โซ ลา ที โด” คุ้นๆกันหรือไม่ครับ นี่แหละครับที่เขาเรียกว่า บันไดเสียง (Scale) ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน การไล่ Scale จะต้องเริ่มจากโน้ตตัวแรกและซ้ำที่โน้ตตัวแรกอีกครั้ง ดังนี้ C D E F G A B C เพื่อให้ครบ 1 ช่วงคู่แปด (Octave)
การพิจารณาว่าบันไดเสียงใดเป็นบันไดเสียงเมเจอร์นั้นต้องดูที่โครงสร้าง ของระยะห่างของโน้ตที่เรียงกัน ดังนี้
โน้ตลำดับที่ 3-4 และ โน้ตลำดับที่ 7-8 จะต้องมีระยะห่างกัน ครึ่งเสียง
โน้ตที่ไม่ได้อยู่ในลำดับที่ 3-4 และ 7-8 จะต้องมีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม (เท่ากับ 2 ครึ่งเสียง)
บันไดเสียง C เมเจอร์
C _ D _ E ̬ F_ G _ A _ B ̬ C
ข้อสังเกต : โน้ต E-F และ B-C มีระยะห่างกันครึ่งเสียงเสมอ
ในตัวอย่างบันไดเสียง C เมเจอร์ โน้ตในลำดับที่ 3-4 และ 7-8 มีระยะห่างครึ่งเสียง ส่วนโน้ตลำดับอื่นมีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม ตามโครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์
ข้อสังเกต : โน้ต E-F และ B-C มีระยะห่างกันครึ่งเสียงเสมอ
ในตัวอย่างบันไดเสียง C เมเจอร์ โน้ตในลำดับที่ 3-4 และ 7-8 มีระยะห่างครึ่งเสียง ส่วนโน้ตลำดับอื่นมีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม ตามโครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์
บันไดเสียง G เมเจอร์
G _ A _ B ̬ C_ D _ E ̬ F _ G
ในตัวอย่างนี้จะเห็นว่าโน้ตในลำดับที่ 3-4 มีระยะห่างกันครึ่งเสียงถูกต้องแล้ว แต่โน้ตในลำดับที่ 7-8 ยังมีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม และโน้ตในลำดับที่ 6-7 มีระยะห่างกันครึ่งเสียง
ตามโครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์โน้ตลำดับที่ 3-4 และ 7-8 ต้องมีระยะห่างกันครึ่งเสียงเท่านั้น และโน้ตในลำดับอื่นๆจะต้องมีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม
วิธีทำ : การปรับโครงสร้างของบันไดเสียงให้ตรงกับโครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์นั้น จำเป็นต้องใช้ เครื่องหมายแปลงเสียง เข้ามาช่วย ในตัวอย่างบันไดเสียง G เมเจอร์นี้ เราจะต้องใส่เครื่องหมายชาร์ป ที่โน้ตตัว F เพื่อทำให้โน้ต F เสียงสูงขึ้นครึ่งเสียง จะทำให้โน้ตในลำดับที่ 6-7 มีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็มพอดี และโน้ตในลำดับที่ 7-8 มีระยะห่างกัน ครึ่งเสียง ดังนี้
G _ A _ B ̬ C _ D _ E _ F♯ ̬ G
ในตัวอย่างนี้จะเห็นว่าโน้ตในลำดับที่ 3-4 มีระยะห่างกันครึ่งเสียงถูกต้องแล้ว แต่โน้ตในลำดับที่ 7-8 ยังมีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม และโน้ตในลำดับที่ 6-7 มีระยะห่างกันครึ่งเสียง
ตามโครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์โน้ตลำดับที่ 3-4 และ 7-8 ต้องมีระยะห่างกันครึ่งเสียงเท่านั้น และโน้ตในลำดับอื่นๆจะต้องมีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็ม
วิธีทำ : การปรับโครงสร้างของบันไดเสียงให้ตรงกับโครงสร้างของบันไดเสียงเมเจอร์นั้น จำเป็นต้องใช้ เครื่องหมายแปลงเสียง เข้ามาช่วย ในตัวอย่างบันไดเสียง G เมเจอร์นี้ เราจะต้องใส่เครื่องหมายชาร์ป ที่โน้ตตัว F เพื่อทำให้โน้ต F เสียงสูงขึ้นครึ่งเสียง จะทำให้โน้ตในลำดับที่ 6-7 มีระยะห่างกัน 1 เสียงเต็มพอดี และโน้ตในลำดับที่ 7-8 มีระยะห่างกัน ครึ่งเสียง ดังนี้
G _ A _ B ̬ C _ D _ E _ F♯ ̬ G
×